ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ”
(Toyota Biodiversity and Sustainability Learning Center)
ความเป็นมา
ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ” (Toyota Biodiversity and Sustainability Learning Center) จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 5 รอบ 2เมษายน 2558 ซึ่งได้ประยุกต์ใช้แนวคิดการปลูกป่านิเวศตามหลักการปลูกป่าของ ศ.ดร.อากิระ มิยาวากิ โดยป่านิเวศแห่งนี้เป็นป่านิเวศในโรงงานแห่งแรกที่ได้รับการร่วมมือในการปลูกป่าจากทุกภาคส่วน ได้แก่ พนักงานโตโยต้า ผู้ผลิตชิ้นส่วน ผู้แทนจำหน่ายประชาชนจากชุมชนรอบโรงงาน และชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา กว่า 13,000 คน ปลูกต้นไม้จำนวน 100,000 ต้น ในวันที่ 3 สิงหาคม 2551 และในปีต่อมาได้จัดทำ “ไบโอโทป” (Biotope) ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต และเป็นการสร้างระบบนิเวศ จากมือมนุษย์ (Man-Made Ecosystem) จนเมื่อต้นไม้เติบโตเป็นป่านิเวศที่สมบูรณ์ ตลอดจนเกิดระบบนิเวศหลากหลายชนิดในพื้นที่ โตโยต้าได้เล็งเห็นประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพที่เกิดขึ้นจึงได้จัดตั้งเป็น ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ” (Toyota Biodiversity and Sustainability Learning Center)
ภาพรวมโครงการ
จากดินที่บดอัด เพื่อก่อสร้างโรงงาน โตโยต้า บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ถูกพลิกฟื้นมาเป็นป่านิเวศและโตโยต้าไบโอโทปภายใต้ ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ” (Toyota Biodiversity and Sustainability Learning Center) โดยมีพื้นที่ทั้งสิ้น 60 ไร่ แบ่งเป็นป่านิเวศจำนวน 30 ไร่ และแหล่งเรียนรู้เชิงนิเวศ หรือไบโอโทป จำนวน 30 ไร่ ดำเนินการก่อสร้างอาคารนิทรรศการ ตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งสริมงานทางด้านสิ่งแวดล้อม ศึกษามุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้เด็กและเยาวชน ได้ตระหนักถึงคุณค่าและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งศูนย์แห่งนี้จะเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ออกจากห้องสี่เหลี่ยมสู่ห้องเรียนธรรมชาติทั้งนี้โครงการฯ ได้จัดทำหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาร่วมกับ มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประเทศไทย) FEED Thailand สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6 โดยบูรณาการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้สอดคล้องกับพื้นที่อีกด้วย ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ” (Toyota Biodiversity and Sustainability Learning Center) ประกอบด้วย 3 ส่วน สำคัญ ได้แก่
- ป่านิเวศ (Eco Forest)
- แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ / แหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิต (Biotope)
- อาคารชีวพนาเวศ นิทรรศการต้นไม้แห่งชีวิต (Cheewa Pamavet Building)
- ป่านิเวศ (Eco Forest)
ป่านิเวศ (Eco Forest) คือ ป่าดั้งเดิมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ก่อนสภาพป่าจะถูกทำลาย ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่านิเวศเป็นต้ไม้สายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ ซึ่งสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าพันธุ์ไม้ที่ไม่ใช่สายพันธุ์ดั้งเดิมของพื้นที่ ดังนั้น จึงสามารถที่จะเติบโตได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการดูแลและมีอายุยืนนานหลายพันปี อัตราการเจริญเติบโต มากกว่าปกติ ถึง 10 เท่า และอัตราเจริญเติบโต มากกว่าปกติ ถึง 10 เท่า และอัตรารอดตายมากกว่า 90 %
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ หลักการฟื้นฟู่ป่าธรรมชาติดั้งเดิม
- พันธุ์ไม้ที่ปลูกจะต้องเป็นพันธุ์ไม้ดั้งเดิม (Native Species) หัวใจสำคัญของการฟื้นฟู คือการใช้พันธุ์ไม้ดั้งเดิมที่เติบโตอยู่ในพื้นที่มาทำการปลูกซึ่งพันธุ์ไม้ดั้งเดิมจะมีความแข็งแรง และทนทาน
- เตรียมกล้าไม้ดั้งเดิมที่ปลูกในถุงพลาสติก (Potted Seedlings) และมีระบบรากแข็งแรง (ความสูงเฉลี่ยประมาณ 80-100 เซนติเมตร)
- การเตรียมดินและเนินดิน (Mound) เป็นการปรับพื้นที่โดยการเพิ่มพื้นที่หน้าดิน, เพิ่มความสามารถของพื้นที่ในการระบายน้ำฝนและเพิ่มการระบายอากาศของดิน เพื่อให้กล้าไม้เติบโตได้อย่างแข็งแรง
- การนำกล้าชุบน้ำก่อนปลูก เพื่อนเป็นการเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับดินและรากของกล้าไม้ซึ่งเพิ่มอัตราการรอดให้กับกล้าไม้และสามารถอยู่รอดได้ถึง 1-2 เดือน โดยไม่ต้องรถน้ำ
- ความหนาแน่นในการปลูก ควรมีระยะห่างของการปลูก 3-4 ต้น ต่อตารางเมตร และปลูกพันธุ์ไม้หลายๆ ชนิด ปะปนกันโดยปลูกแบบสุ่ม (Random) ไม่เป็นแถว ไม่เป็นแนว แบบธรรมชาติ (Potential Natural Vegetation) จะอยู่รอดและพัฒนาเป็นต้นไม้ในป่าที่สมบูรณ์
- แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ/แหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิต (Biotope)
ปรัชญาการสร้างไบโอโทป (Biotope) เป็นการสร้างถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตโดยมนุษย์เป็นผู้สร้างเลียนแบบธรรมชาติ โดยมีปรัชญาในการสร้างดังต่อไปนี้ การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ โตโยต้าไบโอโทปแสดงให้เห็นถึงสังคมพืชแบบต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นตามปรัชญา ”จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” โดยป่าธรรมชาติก่อให้เกิดฝน โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำบนภูเขาสูง ผ่านพื้นที่กลางน้ำและไหลลงสู่ทะเล ดังนี้
- ไบโอโทปสังคมพืชป่าดิบ
- ไบโอโทปสังคมพืชป่าเบญจพรรณ
- ไบโอโทปสังคมพืชพื้นที่ชุ่มน้ำ
บูรณาการแนวคิดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- การนำอิฐทางเดินจากตะกอนดินที่แยกมาจากน้ำดิบซึ่งนำมาผลิตน้ำประปา
- การนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่
- อาคารชีวพนาเวศนิทรรศการต้นไม้แห่งชีวิต (Cheewa Panavet Building)
เชื่อมโยงจากความสำคัญของต้นไม้ที่มีรากแก้ว ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เติบโตมาจากการเพาะเมล็ด ต้นไม้ที่มีรากแก้วเท่านั้นที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม สู่ความสำคัญของวิสัยทัศน์ของโตโยต้าที่ทำอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยนิทรรศการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
ห้องนิทรรศการเทิดพระเกียรติ พื้นที่เทิดพระเกียรติและจัดแสดงพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับป่า น้ำ และดิน ของทั้งสามพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผ่านจอ และเกม interactive
ระบบนิเวศบนดิน รู้จักสัตว์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน “ชีวพนาเวศ” พื้นที่โตโยต้าไบโอโทป
ระบบนิเวศใต้ดิน สัมผัสความหลากหลายทางชีวภาพผ่านภาพยนตร์ ระบบนิเวศใต้ดิน รู้จักระบบนิเวศใต้ดินผ่านนิทรรศการและเกม interactive
ข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ” จังหวัดฉะเชิงเทรา
ที่อยู่ : โรงงานโตโยต้า บ้านโพธิ์ 99 ม.2 ต.ลาดขวาง อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา 24140
โทรศัพท์ : 0 2942 7697 มือถือ : 08 7740 2137
Facebook : ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืน”ชีวพนาเวศ” Instagram : cheewapanavet
ผลการปฏิบัติงาน: ศูนย์การเรียนรู้ ความหลากหลายทางชีวภาพและความยั่งยืน “ชีวพนาเวศ” ประจำปี พ.ศ. 2563 Thai version | English version