Earth Hour 60+

Earth Hour

1. ความเป็นมา ของ Earth Hour Campaign

Earth Hour Campaign หรือ โครงการปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน

เริ่มรณรงค์ครั้งแรกในปี 2550 โดย WWF ประเทศออสเตรเลีย มีผู้เข้าร่วมกว่า 2.2 ล้านคนและผู้ประกอบการกว่า 2,000 ราย พร้อมใจกันปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อสร้างจิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนและภาวะอากาศแปรปรวนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้ สามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 10.2% เทียบได้กับปริมาณรถยนต์บนท้องถนนที่จะลดลงถึง 48,000 คันต่อปี

ปีต่อมาได้มีขยายการรณรงค์ไปทั่วโลก โดยมีมหานครใหญ่  370 แห่งเข้าร่วมการรณรงค์ อาทิ ออสเตรเลีย (ซิดนีย์ เพิทธ์ เมลเบิร์น แคนเบอร่า บริสเบน อดาเลด ดาร์วิน โอบาร์ต) อเมริกา (ชิคาโก แอตแลนต้า ซานฟรานซิสโก ฟีนิกซ์) อาร์เจนตินา (บัวโนสไอเรส)  ไทย (กรุงเทพมหานคร ฟิลิปปินส์ (มนิลา) ฟิจิ (ซูวาเลาโตก้า) อิสราเอล (ดูไบ) เดนมาร์ก (โคเปนเฮเกน อาฮุส อัลเบิร์ก โอเดนส์)  นิวซีแลนด์ (ไครส์เชิร์ส)  เม็กซิโก (เม็กซิโกซิตี้) เวเนซูเอลา (คาราคัส) เป็นต้น

ความสำเร็จของกิจกรรมรณรงค์ได้ขยายไปทั่วโลก จาก 4,000 เมืองใหญ่ของ 140 ประเทศในปี 2554 ขยายไปสู่ 152 ประเทศทั่วโลกในปี 2555 โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อนและนำเสนอแนวทางปฏิบัติที่ง่ายและเหมาะสมกับทุกภาคส่วนในสังคมให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน

2. Earth Hour ในประเทศไทย และกิจกรรมต่อเนื่อง

ประเทศไทยเริ่มเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน เมื่อปี 2551 และดำเนินงาน ติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินโครงการร่วมกับองค์กรพันธมิตรอีกกว่า 100 องค์กร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมหลายรูปแบบ อาทิ การเดินรณรงค์ตามถนนสายหลัก 4 สาย คือ สีลม เยาวราช ข้าวสารและสุขุมวิท นำโดยตัวแทนจากภาครัฐ, WWF Ambassadors, ศิลปินดารา พร้อมสื่อมวลชน กิจกรรมประกวดภาพถ่ายก่อนและหลังปิดไฟและการจัดเวทีสัมมนาโลกร้อน เป็นต้น

สำหรับการต่อเนื่องในกิจกรรมภายใต้การดำเนินของประเทศไทยได้ดำเนินโครงการโรงเรียนใหญ่ รอยเท้าเล็ก เพื่อเน้นให้เกิดการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียน

และสร้างเครือข่ายโรงเรียนคาร์บอนต่ำให้กว้างขวางขึ้น ดังนั้นทางมูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยังยืน จึงได้คิดริเริ่มขยายโครงการไปยังโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ และปทุมธานี โดยมุ่งหวังจะถ่ายทอดแนวคิดดังกล่าวให้กับเยาวชน โดยมีองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ การลดปริมาณการก๊าซเรือนกระจกในสังคม (Carbon Minimization)

3. โครงการ Earth Hour 

เป้าหมาย

รณรงค์ให้ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐ ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่และการมีส่วนร่วมช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน เพื่อนำไปสู่การลงมือปฏิบัติและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคม

วัตถุประสงค์

1.  เพื่อให้ทุกคนเริ่มลงมือปฏิบัติและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เพื่อช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง

2.  เพื่อให้โครงการ Earth Hour เป็นจุดเริ่มต้น นำไปสู่ความร่วมมือเชิงปฏิบัติและกิจกรรมต่อเนื่องที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน พัฒนาเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low carbon society) ในอนาคต

กลยุทธ์ในการดำเนินงาน (Use Your Power)

• Celebrate EarthHour เชิญชวนให้ทุกคนร่วมปิดไฟ 1 ชั่วโมงในวันเสาร์ที่ 3 มีนาคม ของทุกปี ผ่านสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ต่างๆ

• Back A Project สนับสนุนโครงการอนุรักษ์ผ่านช่องทางออนไลน์ร่วมกับผู้คนทั่วโลกทาง www.earthhour.org

• Share Your voice ร่วมเปล่งเสียงให้เกิดพลังสร้างสรรค์พร้อมกับผู้คนทั่วโลกที่มากกว่าในหนึ่งชั่วโมงของการปิดไฟ ในบริบทที่ทุกคนทำได้ โดยสามารถเกิดเป็นโครงการเล็กๆ ในแต่ละประเทศหรือแต่ละกลุ่มที่จะสร้างกิจกรรมดีๆ ให้กับสังคมและแบ่งปันในสังคมออนไลน์ทั่วโลก

 การเดินรณรงค์และประชาสัมพันธ์ 

• กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ขององค์กรและภาคี Earth Hour

กลุ่มเป้าหมายในการรณรงค์ 

  1. หน่วยงานภาครัฐ
  2. ภาคธุรกิจ
  3. สถาบันการศึกษา
  4. ประชาชนทั่วไปในกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่เข้าร่วมกิจกรรม
  5. สื่อมวลชน

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ทุกคนเริ่มลงมือปฏิบัติและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เพื่อช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน
    อย่างต่อเนื่อง
  2. โครงการ Earth Hour เป็นจุดเริ่มต้น นำไปสู่ความร่วมมือเชิงปฏิบัติและกิจกรรมต่อเนื่องที่เป็นรูปธรรม
    ในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน พัฒนาเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low carbon society) ในอนาคต

โครงการต่อเนื่อง